วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

เวลาภาษาญี่ปุ่น < ตอน 2 ><จบ>


นาที  ภาษาญี่ปุ่น

ふん (fun)  ฟุน  แปลว่า นาที แต่บางทีอาจะเปลี่ยนเป็นใช้  ぷん (pun)  ปุน  ตามเลขข้างหน้า

ยกตัวอย่าง   ถ้าข้างหน้าเป็นเลข   2, 5, 7, 9   ให้ใช้  ふん  ฟุน  **
                     ถ้าข้างหน้าเป็นเลข   1, 3, 4, 6, 8, 10  ให้ใช้  ぶん  ปุน  **
                     ในส่วนนี้ต้องจำ


5 นาที      ごふん   go-fun  ( โก๊ะฟุน )

10 นาที    じゅっぷん  jup-pun   ( จุปปุน )

15 นาที    じゅうごふん   juugo-fun  ( จูโก๊ะฟุน )  

20 นาที   にじゅっぷん   nijup-pun  ( นิจุปปุน )

25 นาที   にじゅうごふん  nijuugo-fun  ( นิจูโก๊ะฟุน )
 
30 นาที   さんじゅっぷん  sanjup-pun  ( ซานจุปปุน )

35 นาที   さんじゅうごふん  sanjuugo-fun  ( ซานจูโก๊ะฟุน )

40 นาที  よんじゅっぷん   yonjup-pun  ( โย่นจุปปุน )

45 นาที  よんじゅうごふん  yonjuugo-fun ( โย่นจูโก๊ะฟุน )

50 นาที  ごじゅっぷん  gojup-pun  ( โก๊ะจุปปุน )

55 นาที  ごじゅうごふん  gojuugo-fun  ( โก๊ะจูโก๊ะฟุน )


คำถามเวลาใช้จริง

「いま」 なんふんですか     ima nanfun desuka?    อิมะ นั่นฟุน เดสก๊ะ

แปลว่า     (ขณะนี้) กี่นาทีแล้ว

ให้ตอบว่า

....いま ごじ にじゅうごふんです    ima goji nijuugofun desu.  อิมะ โก๊ะจิ นิจูโก๊ะฟุน เดส
 
แปลว่า    ขณะนี้เป็นเวลา 5 โมง 25 นาที


วินาที ภาษาญี่ปุ่น

วินาทีไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่แค่  เติม   びょう  เบียว  ไปข้างหลังเลขก็เป็นพอ

เช่น       ご びょう    โก๊ะเบียว  แปลว่า  5  วินาที

             じゅうご びょう    จูโก๊ะเบียว  แปลว่า  15  วินาที
                                                .
                                     .
                                     .
             ろく じゅうびょう   โระคุจูเบียว  แปลว่า  60  วินาที



สำหรับ   เวลาภาษาญี่ปุ่น  ก็พอจะพูดเป็นกันแล้วนะครับ ครั้งหน้าเป็นเรื่องอะไรรอดู  nyan nyan > - <





วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

เวลาภาษาญี่ปุ่น < ตอน 1 >


มาเริ่มกันดีกว่าเราจะได้  พูดได้ว่าตอนนี้กี่โมงแล้ว ภาษาญี่ปุ่นพูดว่าอะไร





เวลา   ภาษาญี่ปุ่น  คือ   じかん    jikan    จิคัง  อาจเห็นทั่วไปตามป้ายส่วนมากจะเป็นคันจิ  時間


เวลาของญี่ปุ่น จะพูดคล้ายๆไทย คือ

จิ ( じ )  เป็นชั่วโมง     ฟุน ( ふん )   เป็นนาที


การอ่านเวลาที่เป็นชั่วโมง  


いち じ   ( อิจิจิ )
1. a.m.   หนึ่งนาฬิกา / ตีหนึ่ง

に じ       ( นิจิ )
2 a.m.      สองนาฬิกา / ตีสอง

さん じ    ( ซานจิ )
3 a.m.      สามนาฬิกา / ตีสาม

よ じ( โยะจิ )  *
4 a.m.     สี่นาฬิกา / ตีสี่

ご じ( โก๊ะจิ )
5 a.m.     ห้านาฬิกา / ตีห้า

ろく じ( โระคุจิ )
6 a.m.     หกนาฬิกา / หกโมงเช้า

しち じ( ชิจิจิ )
7 a.m.     เจ็ดนาฬิกา / เจ็ดโมงเช้า

はち じ( ฮะจิจิ )
8 a.m.    แปดนาฬิกา / แปดโมงเช้า

く じ( คุจิ )
9 a.m.     เก้านาฬิกา / เก้าโมงเช้า

じゅう じ( จูจิ )
10 a.m.     สิบนาฬิกา / สิบโมงเช้า

じゅう じいちじ     ( จูอิจิจิ )
11  a.m.      สิบเอ็ดนาฬิกา / สิบเอ็ดโมงเช้า

じゅう じにじ         ( จูนิจิ )
12  a.m.      สิบสองนาฬิกา /  เที่ยง

じゅう じさんじ      ( จูซานจิ )
1 p.m.        สิบสามนาฬิกา / บ่ายโมง

じゅう じよじ          ( จูโยะจิ ) *
2 p.m.        สิบสี่นาฬิกา /  บ่ายสองโมง

じゅう じごじ          ( จูโก๊ะจิ )
3 p.m.       สิบห้านาฬิกา /  บ่ายสามโมง

じゅう じろくじ        ( จูโระคุจิ )
4 p.m.       สิบหกนาฬิกา /  บ่ายสี่โมง

じゅう じしちじ       ( จูชิจิจิ )
5 p.m.       สิบเจ็ดนาฬิกา /  ห้าโมงเย็น

じゅう じはちじ       ( จูฮะจิจิ )
6 p.m.      สิบเเปดนาฬิกา /  หกโมงเย็น

じゅう じきゅうじ     ( จูคุจิ )
7 p.m.      สิบเก้านาฬิกา / หนึ่งทุ่ม

にじゅう じじ          ( นิจูจิ )
8 p.m.      ยี่สิบนาฬิกา / สองทุ่ม

にじゅう じいちじ   ( นิจูอิจิ )
9 p.m.      ยี่สิบเอ็ดนาฬิกา / สามทุ่ม

にじゅう じにじ       ( นิจูนิจิ )
10 p.m.    ยี่สิบสองนาฬิกา / สี่ทุ่ม

にじゅう じさんじ     ( นิจูซานจิ )
11 p.m.    ยี่สิบสามนาฬิกา / ห้าทุ่ม

にじゅう じよじ     ( นิจูโยะจิ ) *
12  p.m.   ยี่สิบสี่นาฬิกา / เที่ยงคืน


*  4  จะกลายเป็น   よ  (โยะ)  ควรจำ  *


ส่วน นาที /วินาทีไว้ต่อใน  เวลาภาษาญี่ปุ่น < ตอน 2 > ครับ เจอกันใหม่ 










 

การนับเลข ภาษาญี่ปุ่น < ตอนที่ 2 >< จบ >


ต่อจากตอนที่  1   หลังจากรู้วิธีเขียนหรือพูดเลข  1   -  999   ( ลืมกันยัง ฮ่าๆ )
ตอนที่ 2 นี้มาต่อ ให้จบเลยดีกว่าให้ถึงหนึ่งล้านเลย


せん  sen   (เซน)

แปลว่า    1,000


ในหลักพัน  ก็มีการ  เปลี่ยนคำออกเสียง  ( อีกแล้ว  )  สำหรับ  6000 และ  8000 ให้จำกัน

1,000    せん              เซน
2,000    にさん           นิ-เซน
3,000    さんぜん   ซาน-เซน
4,000    よんせん      โย่ง-เซน
5,000     ごせん        โก๊ะ-เซน
6,000    ろくせん        รค-เซน **
7,000    ななせん      นา-นะ-เซน
8,000    はっせん      หัด-เซน **
9,000    きゅうせん   คิว-เซน

เลขก็ผสมเหมือนเดิมแต่จะเพิ่มความยาวย๊าวยาวให้มึนกันไป   ( คนพิมพ์ก็เริ่มเมาละ )


1,919    せんきゅうひゃくじゅうきゅう    sen kyuhyaku juukyu   ( เซนคิวเฮียคุจูโก๊ะ )
4,321    よんせんさんびゃく に じゅういち   yonsen sanhyaku nijuuichi   ( โย่งเซนซานเฮียคุนิจูอิจิ ) 
6,669     ろくせんろっぴゃくろくじゅうきゅう   roksen  roppyaku  rokujuu kyu ( รคเซนรปเปียคุโระคุจูคิว )
                                                                            .
                                                    .
                                                    . 
9792   きゅうせんななひゃくきゅうじゅうに  kyusen nanahyaku kyujuuni ( คิวเซนนานะเฮียคุคิวจูนิ )






เอาล่ะมาถึง ขั้นสุดท้าย กันแล้ว  ตั้งสติดีๆ จะถึงหนึ่งล้านแล้ว


いちまん   ichiman  ( อิจิมัง )

แปลว่า   หมื่น / หนึ่งหมื่น


ญี่ปุ่นจะนับถึงแค่   '' หมื่น  ''   หลายคนสงสัย  บางคนไหวพริบดีก็จะเดาออก

Q : อ้าว แล้วถ้าหนึ่งแสนล่ะ  ใช้อะไร  
A : 10 หมื่น

Q : หนึ่งล้านล่ะ
A : 100 หมื่น

Q : 10 ล้านล่ะ
A : 1,000 หมื่น


มาดู  ตัวอย่าง  กัน

10,000        いちまん     อิจิมัง       ( หมื่น )
100,000      じゅうまん   จูมัง         ( 10 หมื่น )
1,000,000  ひゃくまん    เฮียคุมัง  ( 100 หมื่น )


เอาล่ะเ่ท่านี้เพื่อนๆก็พูดและเขียน 1 - ล้าน เป็นภาษาญี่ปุ่นได้แล้วนะครับ
เมื่อเราเรียนนับเลข  เราไปเรียน  เรื่อง  เวลา  กันต่อเลยดีกว่าในครั้งหน้า

การนับเลข ภาษาญี่ปุ่น < ตอนที่ 1 >


การนับเลขตั้งแต่ 1 ถึง ล้านเลย  รับรองว่าไม่ยากแน่นอน ในตอนที่ 1 จะสอนนับ
 1 - 999 นะครับผม


1   いち     ichi   ( อิจิ )
2   に        ni      ( นิ )
3   さん     san    ( ซาน )
4  よん     yon    ( โย่ง )
5   ご        go      ( โก๊ะ )
6   ろく     roku   ( โระคุ )
7   なな    nana   ( นานะ )
8   はち   hachi  ( ฮะจิ )
9   きゅう kyu    ( คิว )
10 じゅう  juu    ( จู )


ถ้าจำข้างบนได้  11  -  99  ก็หวานหมูละครับ  แค่นำเลขมาผสมกันก็พอ   เหมือนภาษาไทยเลย

ตัวอย่าง  10  ( じゅう ) + 1 ( いち) =  11 ( じゅういち )

12   じゅうに           juuni         ( จูนิ )
13   じゅうさん        juusan      ( จูซาน )
14   じゅうよん       juuyon      ( จูโย่ง )
15   じゅうご           juugo       ( จูโก๊ะ )
16   じゅうろく         juuroku    ( จูโระคุ )
17   じゅうなな        juunana    ( จูนานะ )
18   じゅうはち       juuhachi    ( จูฮะจิ )
19   じゅうきゅう     juukyu      ( จูคิว )


แล้วถ้า  21  ล่ะ     ก็นำเลขผสมกันเหมือนเดิมครับ

ตัวอย่าง   20  ( に じゅう )  + 1 ( いち )  =  21  (  に じゅういち  )

แค่นำเลข 2 มาไว้หน้า  10  ก็จะกลายเป็น  20  แล้วครับ
30  ก็นำเลข  3  มาไว้หน้า  10

37   さん じゅうなな      sanjuunana      ( ซานจูนานะ )
45   よんじゅうきゅう    yonjuukyu       ( โย่งจูคิว )
55   ごじゅうご              gojuugo          ( โก๊ะจูโก๊ะ )
                                     .
                                     .
                                     .
92   きゅうじゅうに       kyujuuni         ( คิวจูนิ )


เอาล่ะหลักสิบก็ผ่านมาแล้ว  มาหลักร้อยต่อกันเลยจะยาวหน่อย  สติอย่าเพิ่งหลุดนะครับ  อีกนิดเดียวๆ


ひゃく   hyaku   ( เฮียคุ )

 แปลว่า  ร้อย  /  หนึ่งร้อย  

หลักร้อยก็เป็นการผสมเลข เหมือนเดิม แต่จะมี
จุดเปลี่ยน  การออกเสียง  ของ  300 ,  600  ,  800


100 ひゃく          hyaku         ( เฮียคุ )
200 にひゃく  nihyaku         ( นิเฮียคุ )
300 さんびゃく *  sanbyaku   ( ซานเบียคุ )
400 よんひゃく yonhyaku         ( โย่งเฮียคุ )
500 ごひゃく  gohyaku         ( โก๊ะเฮียคุ )
600 ろっぴゃく *   roppyaku ( รปเปียคุ )
700 ななひゃく nanahyaku ( นานะเฮียคุ )
800 はっぴゃく *   happyaku ( ฮัปเปียคุ )
900 きゅうひゃく kyuuhyaku ( คิวเฮียคุ )


โดยเลข  300 * จะเปลี่ยน   hyaku   ( เฮียคุ ) เป็น  byaku ( เบียคุ )
       เลข  600 * จะเปลี่ยน   hyaku   ( เฮียคุ ) เป็น  pyaku ( เปียคุ )
       เลข  800 * จะเปลี่ยน   hyaku   ( เฮียคุ ) เป็น  pyaku ( เปียคุ )
ควรจำให้ขึ้นใจ

123    ひゃくにじゅう さん               hyaku - nijuu - san              ( เฮียคุนิจูซาน )
333    さんびゃくさんじゅうさん      sanbyaku - sanjuu - san      ( ซานเบียคุซานจูซาน )
570    ごひゃく ななじゅう             gohyaku - nanajuu              ( โก๊ะเฮียคุนานะจู )
669    ろっぴゃくろくじゅうきゅう    roppyaku - rokujuu - kyu   ( รปเปียคุโระคุจูคิว )
881   はっぴゃくはちじゅういち     happyaku - hachijuu - ichi   ( ฮัปเปียคุฮะจิจูอิจิ )
945   きゅうひゃくよんじゅうきゅう    kyuhyaku - yonjuu - go   ( คิวเฮียคุโย่งจูโก๊ะ )


เท่านี้เพื่อนๆก็พูดหรือเขียน  1 - 999 เป็นภาษาญี่ปุ่นได้แล้วนะครับ แล้วเราไปต่อกันใน

การนับเลข ภาษาญี่ปุ่น < ตอนที่ 2 >   กันเลย !! จิ้มๆ

การกล่าวลา / ขอโทษ และ ขอบคุณ ภาษาญี่ปุ่น




ในส่วนของการ ขอโทษ หรือ ขอบคุณ เป็นมารยาททางสังคมซึ่งสำหรับคนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง  โดยจะมีลักษณะการใช้ต่างกันไปตามสถานการณ์ ดังนี้


ตัวอย่างการ ''ขอบคุณ''


ありがとうございます  (อะริงะโตะโกะไซมัส)

แปลว่า  ขอบคุณ

 ใช้ขอบคุณกันแบบทาง  หรือ สุภาำพ   ถ้าเป็นคนที่สนิท หรือ เพื่อน ใช้แค่  ありがとう  ( อะริงะโตะ) ก็พอ


どうも ありがとう ございます。 (โด้โหมะ อะริงะโตะโกะไซมัส)

แปลว่า  ขอบคุณมาก

ใช้เวลาที่เราขอบคุณมากๆจริงๆแสดงถึงความซาบซึ้ง จริงใจ


การตอบรับ ''คำขอบคุณ'' 

เมื่อเขาขอบคุณเราก็ควรตอบกลับไปว่า

どういたしまして   ( โด้อิตะชิมะชิเตะ )

แปลว่า  ไม่เป็นไรครับ / ค่ะ                                

หรือใช้คำว่า

こちらこそ     ( โคะชิระโคะโซะ )

แปลว่า  ด้วยความยินดี


ตัวอย่างการ ''ขอโทษ''

すみません。( ซึมิมะเซน )

แปลว่า   ขอโทษครับ / ค่ะ

ใช้เวลาทำผิดเล็กๆน้อยๆ  หรืออาจรบกวนให้ผู้อื่นทำสิ่งที่เราต้องการ เหมือนคำว่า excuse me


ごめんなさい。( โกะเมนนะไซ )

แปลว่า ขอโทษครับ / ค่ะ

ใช้เวลาทำผิดขั้นหนักหน่อย เช่น ทำให้คนอื่นเดือดร้อน เหมือนคำว่า  sorry


ほんとうに ごめんなさい   ( ฮนโตนิ  โกะเมนนะไซ )

แปลว่า  ขอโทษจริงๆครับ / ค่ะ
ใช้เวลาทำผิดขั้นแรง  เช่น  ทำของในร้านแตก  อาจโดนไล่ออก  =.,=


การตอบรับ ''คำขอโทษ''

いいですよ    ( อิเดซโยะ )

แปลว่า   ไม่เป็นไร


ごしんぱいなく    ( โกะชินไปนะคุ )

แปลว่า  ไม่ต้องห่วง / กังวล


きに しないで    ( คินิ  ชินะอิเดะ  )

แปลว่า  ช่างมันเถอะ


しんぱい しないで    ( ชินไพ ชินะอิเดะ )
แปลว่า   ไม่เป็นไรหรอก



ตัวอย่างการ ''บอกลา''

さようなら      ( ซาโยนะระ )

แปลว่า   ลาก่อน

คนไทยส่วนมากจะรู้จักคำนี้แต่อาจไม่คุ้นกับความหมายว่า ''ลาก่อน'' เพราะมันฟังดูเศร้าๆ
 สำหรับคนญี่ปุ่นก็เช่นกัน คำว่า ซาโยนาระ ใช้ในกรณีที่ต้องจากกันโดยที่ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้พบกันอีกหรือไม่ หรือ ใช้เมื่อต้องการที่จะประชดว่า "อย่าเจอกันอีกเลย" เหมือนในการ์ตูนญี่ปุ่น


またあいましょう   ( มะตะไอมาโช่ )

แปลว่า  แล้วเจอกัน

ใช้บอกลาทั่วไป  เป็นคำที่มีมารยาทใช้จบบทสนทนา


じゃ、またね    ( จ้า, มะตะเนะ  )

แปลว่า   บาย  แล้วเจอกัน

เป็นคำง่ายๆ ใช้บอกลากับเพื่อน หรือคนที่สนิท ฟังดูน่ารักดี เนะ เนะ เน๊






คำทักทายภาษาญี่ปุ่น / แนะนำตัว


     ในบทความนี้จะเกี่ยวกับคำทักทาย เวลาคนญี่ปุ่นเจอกัน , ถามสุขภาพ , แนะนำตัวเอง

คำกล่าวสวัสดีของญี่ปุ่นก็จะมีตามเวลา คือ สวัสดีตอนเช้า ตอนกลางวัน ตอนเย็น  เหมือนของไทยมี อรุณสวัสดิ์  ราตรีสวัสดิ์  ไปดูกันดีกว่า




1.) おはようございます  ( โอะฮะโยโกะไซมัส )

 แปลว่า   สวัสดีตอนเช้า

ใช้ทักทายได้ตั้งแต่รุ่งเช้า  จนถึง  10  โมงเช้าแต่จะไม่เกิน  11  โมงเช้า  ควรใช้น้ำเสียงที่สดชื่น ชัดเจน  ถ้าเป็นเพื่อน หรือ คนที่สนิท พูดแค่   おはよう  (โอะฮะโย)  ก็ได้ .

ถ้าเห็นคนญี่ปุ่นพูดตอนบ่ายๆ ก็ไม่ต้องแปลกใจเพราะเป็นธรรมเนียมสำหรับคนญี่ปุ่นจะพูดกับคนที่เพิ่งเข้ามาทำงานครั้งแรก หรือ เพิ่งเจอกันครั้งแรก  ไม่ใช้ว่าเค้าใช้ผิดนะ  ^__^





2.)  こんにちは  ( คนนิจิวะ )

แปลว่า  สวัสดีตอนกลางวัน

ใช้ทักทายตอนกลางวัน  10 โมงเกือบ 11 โมงไปจนถึง เย็น ไม่เกิน 6 โมงเย็น  ก่อนพระอาทิตย์ตก

สามารถใช้ได้กับทุกคนเพราะเป็นคำที่สั้นอยู่แล้ว



3.) こんばんは  (คนบังวะ)

แปลว่า   สวัสดีตอนเย็น

ใช้ทักทายตั้งแต่ตอนเย็น  6  โมงเย็น ไปจนถึง  รุ่งเช้า  ก่อน ตี 5


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ประโยค   การกล่าวทักทายแบบถามสุขภาพ 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

おげんきですか   (โอะเก็งขิเดสก๊ะ)

แปลว่า  สบายดีหรือเปล่า  /  สบายดีมั้ย


ให้เราตอบดังนี้

ถ้าเราสบายดีให้ตอบ    はい , げんきです    ( ไฮ่  เก็งขิเดส )

はい  แปลว่า ใช่ / yes
げんきです    แปลว่า  สบายดี

ถ้าเราไม่สบายให้ตอบ   いいえ  ( อิเอ๊ะ )

  いいえ  แปลว่า  ไม่ /  no

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ประโยค  แนะนำตัว

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


 はじめまして   ( ฮะจิเมะมะชิเตะ )

แปลว่า  ยินดีที่ได้รู้จัก

คนญี่ปุ่นจะใช้พูดกัน เวลาพบกันเป็นครั้งแรก


どうぞ よろしく おねがいします  ( โด้โสะ โยะโระชิขุ โอเนะไงชิมัส )

แปลว่า   มีอะไรก็เชิญเลย /  ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วย

ใช้เมื่อแนะนำตัว แสดงความสุภาพด้วยการขอฝากเนื้อฝากตัวด้วย เป็นคำที่จะใช้พูดกับผู้ที่อาวุโสกว่า
ถ้าพูดกับเพื่อน / คนสนิท หรือ ผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าให้ใช้แค่   どうぞ よろし ( โด้โสะ โยะโระชิขุ )
ก็พอ


การแนะนำชื่อของเรา


 わたしのなまえは ___ です   ( วะตะชิโนะนะมะเอะวะ___เดสสึ  )

แปลว่า ฉันชื่อ___ครับ/ค่ะ

หรืออาจจะพูดว่า

 わたしは___ です   ( วะตะชิวะ__เดสสึ )

แปลว่า ฉันคือ___ครับ/ค่ะ  


บอกว่าเราเป็นคนไทยนะให้ใช้

 タイ人です   ( ไทยจินเดสสึ )

แปลว่า ฉันเป็นคนไทย


บอกว่าเราเป็นนักเรียนนะให้ใช้

がくせいです  ( กักเซเดสสึ )

แปลว่า เป็นนักเรียน


ประโยคใช้จริง

A      :   おはよう ございます。( โอะฮะโย โกะไซมัส )            
                    ohayoo gozaimasu.
                    อรุณสวัสดิ์ครับ / ค่ะ

C    : おはよう ございます。  ( โอะฮะยะ โกะไซมัส )              
                  ohayoo gozaimasu.
                  อรุณสวัสดิ์ครับ

     Aさん、こちらは Bさんです。( เอซัง โคะจิระ วะ บี เดส)  
                   A, kochira wa B desu.
                   คุณA นี่คือคุณ B ครับ.

B    :  はじめまして。     ( ฮะจิเมะมะชิเตะ )                        
                  hachimemashite.
                  ยินดีที่ได้รู้จักครับ.

         B です。      ( บีเดส )              
                  b desu.
                  ผม B

                   アメリカから きました。       ( อะเมริกะ คะระ คิมะชิตะ )      
                   ameriga kara kimashita.
                   ผมมาจากอเมริกา


       どうぞ よろしく。      ( โดโซะ โยโระชิขุ )                  
                   doozo yoroshiku
                   ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ 

                                       

A     : さとう けいこです。       ( เอเดส )                
                  A  desu.
                   ผม A

     どうぞ よろしく。   ( โดโซะ โยโระชิขุ )                      
                   doozo yoroshiku.
                  ขอฝากเนื้อฝากตัวเช่นกันครับ / ค่ะ



ขอบคุณที่อ่านครับหวังว่าคงมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ ^__^
ไว้มาต่อ ในเรื่อง การบอกลา


ตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น






ตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น มี 3 แบบดังนี้

1.  ฮิระงะนะ  ひらがな (Hiragana)

2.  คะตะคะนะ  カタカナ (Katakana)

3.  คันจิ  漢字  (Kanji)



1.)  ฮิระงะนะ  ひらがな  (Hiragana)  

      มีจำนวน  46  ตัวอักษร  เป็นตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิม ใช้เขียนคำช่วย หรือ คำที่แสดงความหมายหลัก โดยทั่วไปใน TV จะเห็นตัวอักษร ฮิระงะนะ อยู่บน ตัวอักษรคันจิ จะเรียกว่า ' ฟุริกะนะ ' ซึ่งช่วยให้อ่านได้ง่ายขึ้น


สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานเลยจะต้องเริ่มจำจาก   ฮิระงะนะ   ก่อนเป็นอันดับแรก  ตามตารางข้างล่าง





a , i , u , e , o จะเป็นสระ เหมือนภาษาอังกฤษ

หมั่น จำ สลับกับ หัดเขียนไปเรื่อยๆ   ควรจำให้แม่นๆ เพราะเป็นตัวอักษรพื้นฐานในญี่ปุ่น


2.)  คะตะคะนะ  カタカナ (Katakana)

         มีจำนวนตัวอักษร  46  ตัวเท่ากับฮิระงะนะ  ไว้ใช้กับศัพท์ที่มาจากต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ
หรือชื่อเฉพาะสำหรับ  บุคคล, สถานที่, สิ่งของ  หรือ คำเลียนเสียง


หลังจากเราจำฮิระงะนะได้เราก็ควรจำคะตะคะนะต่อ  รวมๆต้องจำอย่างน้อยถึง  92  ตัวสู้ๆนะจ๊ะ





3.)  คันจิ  漢字 (Kanji)
     
          เป็นตัวอักษรที่คนญี่ปุ่นยืมมาจากจีน  ส่วนมากจะเหมือนคำจากภาษาจีนเลย ส่วนที่เหลือญี่ปุ่นก็นำมาดัดแปลงเอง  ใช้แสดง คำนาม ,กริยา  คนญี่ปุ่นมักจะใช้ คันจิ ผสมกัน ฮิระงะนะ หรือ คะตะคะนะ  

คันจิจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1. คุงโยมิ  [ คันจิ + ฮิระงะนะ ]  เป็น เสียงแบบญี่ปุ่น

2. องโยมิ  เป็นเสียงอ่านแบบภาษาจีน  จะอ่านแบบนี้เมื่อเจอ คันจิ 2 ตัวขึ้นไป

ประเทศญี่ปุ่นมีการบัญญัติให้ใช้ คันจิ ในชีวิตประจำวัน   2000  -  3000 ตัว  เรียกว่าคนญี่ปุ่นเองยังจำแทบไม่หมดเลย